วิทยาลัยเทคนิคลำพูน

วิทยาลัยเทคนิคลำพูน ตั้งอยู่เลขที่ 42 อ.เมือง จ.ลำพูน 51000 หมายเลขโทรศัพท์: (053) 511073, แฟ็กซ์: (053) 510334

ลำพูนเมืองอุตสาหกรรม แต่ยังคงความเป็นหริภุญไชยไว้อย่างดีเยี่ยม

จริงๆ แล้ว จังหวัดลำพูนเป็นจังหวัดเล็กๆ ที่ถูกล้อมรอบด้วยจังหวัดใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นเชียงใหม่ ลำปาง ซึ่งต่างก็เป็นจังหวัดที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง หลายๆท่านถามว่าเอ๊ะ แล้วลำพูนมีเอกลักษณ์ของตัวเองยังไงบ้างละ ผมจะบอกให้ครับ ลำพูนมีโซนที่เป็นเขตอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือครับ เฮ้ย เมืองเล็กๆ แล้วยังเป็นเขตอุตสาหกรรมอีก แล้วเสน่ห์จะอยู่ที่ไหนละ นั่นแหละครับประเด็น ถึงลำพูนจะเป็นจังหวัดที่ทำเป็นเขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ในเมืองลำพูนยังมีสิ่งก่ิอสร้างที่บ่งบอกว่าบ้านนี้เมืองนี้เคยเป็นเมืองที่สวยงามมา และยังรักษาไว้อย่างดีครับ บ้านเรือนต่างๆ ก็มีหลายพื้นที่ที่ยังคงรักษาบ้าน และตึกเก่าไว้ ถนนหนทางเล็กๆ ก็ยังคงเก็บไว้อย่างนั้น และอีกอย่างที่อยากจะอวดคือถึงเป็นจังหวัดที่เล็กๆ แต่ลำพูนก็เป็นจังหวัดที่สามารถให้ผลผลิตทางการเกษตร พวกลำใย หอม กระเทียม มากที่สุดจังหวัดหนึ่งในไทยก็ว่าได้ครับ ท่านที่มาเที่ยวภาคเหนือก็อย่าลือจังหวัดลำพูนนะครับ ขอฝากลำพูนไว้ในอ้อมอกอ้อมใจของทุกๆท่านด้วยครับ......

200 ปี ชาวยอง สิบสองปันนา ชาติพันธุ์ต้นตระกูลคนลำพูน โดย พิมผกา ต้นแก้ว

จากข้อมูลของกลุ่มนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ต่างให้การยอมรับว่า "นครหริภุญไชย" หรือลำพูน เป็นจังหวัดที่มีกลุ่มคน ชาติพันธุ์ที่หลากหลายที่สุดในภาคเหนือ อาทิ ยวน โยนก ไทใหญ่ ยางแดง เขิน ลื้อ ลั้วะ ยอง มอญ

หากนับชาติพันธุ์ตั้งแต่อดีต ยุคสมัยที่พระนางจามเทวี พร้อมไพร่พล จากเมืองละโว้ เข้ามาปกครองบ้านเมือง สร้างความเจริญรุ่งเรืองทั้งด้านศาสนา สังคม และวัฒนธรรม จนเป็นที่กล่าวขานว่า เป็นแผ่นดินทองของล้านนา

ต่อมาเมื่อต้องถูกรุกราน ลำพูนต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของเชียงใหม่ จนถึงยุคที่พม่าเข้ามารุกรานล้านนา และได้ปกครองลำพูนนานกว่าสองทศวรรษ

ต้องยอมรับว่าในช่วงหลังสงคราม ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใดก็ตาม เมืองที่ถูกรุกรานแทบจะกลายเป็นเมืองร้างทันที ผู้คนชาวบ้านต่างหนีตาย อพยพลูกหลานไปอาศัยอยู่ที่อื่นกันหมด

สำหรับเมืองลำพูน หลังจากที่ พญากาวิละ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้ต่อสู้ ขับไล่พม่าจนชนะ จึงได้เกณฑ์ชาวเชียงใหม่และชาวลำปางประมาณ 1,500 คน ให้มาตั้งรกรากที่เมืองลำพูน พร้อมกันนี้ได้กวาดต้อนชาวไตลื้อจากเมืองยอง สิบสองปันนา ประมาณ 10,000 คน มาอยู่เมืองลำพูน

ในช่วงที่มีการอพยพ โยกย้ายผู้คนจำนวนมากนี้ เรียกกันว่า ยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2348 และพญากาวิละได้สถาปนาให้ เจ้าคำฝั้น หรือ เจ้าบุรีรัตน์ เป็นเจ้าเมืองลำพูน มาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ในที่ราบลุ่มฝั่งแม่น้ำกวง ตรงข้ามกับตัวเมืองลำพูน ด้านตะวันออก คือบ้านเวียงยองและบ้านตอง ในปัจจุบัน

สำหรับสาเหตุที่ทำให้ชาวไตถูกกวาดต้อนอพยพมาอยู่ต่างบ้านต่างเมืองในครั้งสงครามนั้น เนื่องจากเป็นเมืองชายขอบ ที่อยู่ระหว่างศูนย์อำนาจใหญ่ เช่น พม่า จีน เชียงตุง เชียงรุ่ง เชียงแสน เชียงใหม่ และหลวงพระบาง ตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบขนาดเล็ก เป็นเมืองที่ไม่มีความเข้มแข็งและมีอำนาจในช่วงสงคราม จึงมีการแก่งแย่ง กวาดต้อนผู้คนจากเมืองเล็กๆ ที่ไม่มีความเข้มแข็ง เมืองยองได้รับความกระทบกระเทือนทุกครั้ง ทำให้ผู้คนล้มตายและหลบหนีเข้าป่าไปจนเกือบเป็นเมืองร้าง

ครั้งที่พญากาวิละ ไปกวาดต้อนผู้คนจากเมืองยองมานั้น ได้ประกาศว่า

"ผู้ใดสมัครใจจะไปอยู่เมืองหละปูน บ่ต้องโกนหัว ส่วนไผอยู่เมืองเดิม ให้โกนหัวเสีย"

ปรากฏว่าชนชั้นเจ้านาย ยอมโกนหัว เพื่อประกาศว่าจะไม่ละทิ้งแผ่นดินเกิด ในขณะที่ชนชั้นล่าง ชาวไร่ ชาวนา ยินยอมที่จะอพยพไปตายเอาดาบหน้า แต่พญากาวิละเห็นว่ากลุ่มคนที่ไม่ยอมไป มีมากกว่า และเป็นกลุ่มคนชั้นสูงที่มีคุณภาพ จึงกลับคำ และสั่งให้กลุ่มคนเหล่านั้นไปอยู่เมืองหละปูนแทน ส่วนพวกชาวนา ชาวไร่ ก็ให้ปักหลักอยู่แผ่นดินเดิมต่อไป

การฟื้นฟูเมืองลำพูนของพระเจ้ากาวิละ เพื่อต้องการให้เมืองเชียงใหม่มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเมืองลำพูนยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของเชียงใหม่มาก่อน จึงได้ให้เจ้าเมืองยอง บุตร ภรรยา พี่น้อง พร้อมชาวยองจำนวนหนึ่ง มาตั้งถิ่นฐานราบลุ่มแม่น้ำกวง ฝั่งด้านทิศตะวันออกของเมืองลำพูน แม่น้ำทา และแม่น้ำลี้ เพื่อที่พระเจ้ากาวิละจะสามารถควบคุมดูแลได้ง่าย และป้องกันการก่อกบฏด้วย

นางเพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญชัย กล่าวว่า คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดว่ายองเป็นชื่อของชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งที่แยกตัวมาจากชาวไต แต่แท้จริงแล้ว ยองเป็นชาติพันธุ์เดียวกับชาวไตลื้อ ไตเขิน เพียงแต่อพยพมาจากคนละเมือง ไตยองมาจากเมืองยอง ไตเขินมาจากเชียงตุง ปัจจุบันอยู่ในประเทศพม่า และไตลื้อมาจากเชียงรุ่ง ในสิบสองปันนา ปัจจุบันอยู่ในประเทศจีน พอมาอยู่เมืองไทยจึงเรียกตนเองว่า "ไตยอง"

"การสร้างความโดดเด่น หรือ อัตลักษณ์ ให้กับตนเองทางด้านวัฒนธรรมนั้น ชาวไตเขิน จะสร้างให้ตนเองเป็นสล่า หรือช่างฝีมือชั้นสูง ที่เห็นได้ชัดคือ หมู่บ้านเขินแถบวัวลาย กลางเมืองเชียงใหม่ เป็นแหล่งผลิตเครื่องเขิน เครื่องเงินและหัตถศิลป์ต่างๆ ชาวไตยอง จะเป็นช่างแกะสลักไม้ และทอผ้า ในขณะที่ชาวไตลื้อจะอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ทำไร่ ทำนา"

อาจารย์แสวง มาละแซม นักวิชาการท้องถิ่น จากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ผู้เขียนหนังสือ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คนยองย้ายแผ่นดิน และคนยอง กล่าวว่า การเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองลำพูน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม

โดยเมืองยองมีพลเมืองลดลง แต่เมืองลำพูนมีจำนวนพลเมืองเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งในรัชกาลที่ 5 ชาวยองเมืองลำพูน ถูกนับเป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองชาวสยาม การปรับตัวของชาวยองในแผ่นดินสยาม ในด้านสังคมและวัฒนธรรม กลุ่มชาวยองยังคงรักษาเอกลักษณ์ของตนเองไว้อย่างยาวนาน อาทิ บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ภาษาพูด "ภาษายอง" ซึ่งเป็นภาษาพูดที่สามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจระหว่างชาวยอง สิบสองปันนา กับชาวยองลำพูน ซึ่งต่างจากชาติพันธุ์อื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในลำพูน แต่ถูกวัฒนธรรมคนเมืองกลืนไปจนหมด

"ปัจจุบันนี้ ชาวยองนับว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ของเมืองลำพูน เกือบ 70 เปอร์เซ็นต์ พลเมืองลำพูน ทั้ง 7 อำเภอ 1 กิ่ง เป็นคนยองที่อาศัยราบลุ่มน้ำทา น้ำลี้ น้ำกวงทั้งสิ้น เป็นระยะเวลากว่า 200 ปี ที่คนยองได้ย้ายแผ่นดิน จากสิบสองปันนา มาอยู่สยามประเทศ ถึงแม้ว่าระยะทางจะห่างไกลกันก็ตาม แต่คนยองทั้งสองประเทศ ยังไปมาหาสู่กันอยู่ ร่วมกันคิด สืบสานวัฒนธรรมรากเหง้าของบรรพบุรุษ ให้ลูกหลานได้สืบทอดต่อไป"

ทันตแพทย์อุทัยวรรณ กาญจนกามล ทายาทรุ่นที่ 4 เจ้าเมืองยอง ที่ถูกพญากาวิละ กวาดต้อนมาอยู่เมืองลำพูน เล่าว่า พ่อเคยเล่าให้ฟังว่า ชาวไตยองที่ถูกกวาดต้อนมา มักจะถูกเหยียดยาม ไม่ได้รับการยกย่อง จากกลุ่มคนเมือง และกลุ่มเจ้านายเมืองเหนือ

ถ้าเกิดมาเป็นหญิง มีรูปลักษณ์หน้าตาสวยงาม ก็จะได้แต่งงานกับเชื้อเจ้า และเจ้าขุนมูลนาย เหมือนกับย่าทวด หรือเจ้าแม่คำเฝื่อ ลูกสาวเจ้าเมืองยอง ที่มีด้วยกันสองพี่น้อง

ผู้พี่ได้แต่งงานกับเจ้าหลวงเมืองลำพูน เจ้าดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ แต่ก็ไม่ได้รับการยกย่องเชิดชู ส่วนน้องสาว แต่งงานกับคนจีนตระกูลแซ่เล้า ใน ตระกูลอนุสารสุนทร ซึ่งเป็นต้นตระกูลของ นิมมานเหมินทร์

ถึงแม้ว่าจะมีเชื้อเจ้าเมืองยอง การเมืองในขณะนั้นค่อนข้างที่จะรุนแรง แต่ตลอดระยะเวลา ก็ต้องปกปิดฐานะตนเองไว้ แสดงตัวไม่ได้ และถ้ามีทายาท ที่เป็นลูกชาย ที่มีความเข้มแข็งแกร่งกล้า หรือฝึกการต่อสู้ ถ้าเจ้าเมืองทราบก็จะถูกกำจัด

ดังนั้น พ่อของตนจึงได้นำตนไปฝาก พระประสานสุตาคม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนเลี้ยงดู และด้วยความที่พ่อแม่ ไม่ค่อยพูดถึงประเพณี วัฒนธรรมของบรรพบุรุษให้ฟัง จึงทำให้รากเหง้าต่างๆ ถูกทำลายด้วยความเป็นไปของโลกปัจจุบัน แต่ก็ยังคงรักษาภาษาพูดไว้ สำหรับการกีดกันของเชื้อเจ้านายฝ่ายเหนือ ก็หมดสิ้นไปตามยุคสมัย ในการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปการเมือง พ.ศ.2475

นับเป็นประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของชาวไตหรือคนยอง ที่อพยพกันมาแบบเทครัว หรือเตโค ตั้งแต่ปี พ.ศ.2348 จนถึงเมษายน 2549 เป็นเวลา 200 ปี ที่ชาวยองได้มาตั้งถิ่นฐานที่เมืองลำพูน เอกลักษณ์ และวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ยังคงสืบทอดมาจนถึงรุ่นลูก รุ่นหลาน อาทิ การแต่งกาย ผู้เฒ่า ผู้แก่บางคนยังคงแต่งกายแบบชาวไต

ภาษายอง ซึ่งเป็นภาษาพูดที่เป็นเอกลักษณ์ สำเนียงแปลก แตกต่างจากภาษาคำเมือง บ้านที่อยู่อาศัย ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะหาดูได้ยาก แต่ยังมีให้เห็นใน อ.ป่าซาง อ.บ้านธิ และ อ.เมือง ซึ่งลักษณะของบ้านชาวยองนั้น จะนิยมสร้างบ้านไม้ ใต้ถุนโล่ง หลังคาจะไม่มีกาแล แต่จะมีรูปนกยูง ซึ่งเป็นสัตว์สัญลักษณ์ที่ชาวยองเคารพนับถือประดับอยู่แทน ศิลปะการฟ้อนรำบางอย่าง เช่น ฟ้อนยอง ฟ้อนดาบ การทำกลองหลวง ความเคารพ ยึดถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า รักความสงบ

ชาวไตยอง นับเป็นชาติพันธุ์ บรรพบุรุษคนลำพูน ที่รักษารากเหง้าของตนเองได้นานกว่า 200 ปี ซึ่งเด็กรุ่นหลังควรจะภาคภูมิใจ ยึดรากเหง้า วิถีชีวิตดั้งเดิมของบรรพบุรุษรักษาไว้
ข้อความจาก :www.kroobannok.com

อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล : อุโมงค์ขุนตาล

ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในพื้นที่อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และอำเภอห้างฉัตร อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง สภาพพื้นที่เป็นป่าอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ซึ่งเป็นบรรยากาศที่เงียบสงบ และอุโมงค์ขุนตานซึ่งเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย สร้างโดยชาวเยอรมัน มีเนื้อที่ประมาณ 159,556.25 ไร่ หรือ 255.29 ตารางกิโลเมตร

ป่าดอยขุนตาลแห่งนี้เป็นป่า 1 ใน 14 แห่ง ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติในการประชุม เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งกรมป่าไม้ได้ประกาศให้ป่าดอยขุนตาลในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยขุนตาล ตามกฏกระทรวง ฉบับที่ 116 (พ.ศ. 2506) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 80 ตอนที่ 82 วันที่ 13 สิงหาคม 2506 เนื้อที่ 39,206.25 ไร่ และในท้องที่บางส่วนของตำบลเวียงตาล ตำบลวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร และตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยขุนตาลตาม กฏกระทรวงฉบับที่ 359 (พ.ศ. 2511) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 85 ตอนที่ 109 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2511 เนื้อที่ 120,625 ไร่

กองบำรุง กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 40/2508 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2508 ให้นาย วรเทพ เกษมสุวรรณ ไปทำการสำรวจจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป ต่อมากรมป่าไม้ได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 5/2517 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2517 ให้กำหนดป่าขุนตาลเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งที่ 1160/2517 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2517 ให้นายนฤทธิ์ ตันสุวรรณ ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูลโดยยึดถือตามแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ผลการสำรวจตามบันทึกลงวันที่ 1 ธันวาคม 2517 และวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2518 ปรากฎว่า ป่าดอยขุนตาลมีทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าหลายชนิด เช่น พันธุ์ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ กล้วยไม้ สมุนไพร สัตว์ป่านานาชนิด บรรยากาศที่ร่มรื่นที่เงียบสงบ และมีอุโมงค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการเพิกถอนป่าดอยขุนตาลจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติจัดตั้งป่าดอยขุนตาลเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าดอยขุนตาล ในท้องที่ตำบลท่าปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมืองลำปาง ตำบลเวียงตาล ตำบลวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เนื้อที่ 159,556.25 ไร่ หรือ 255.29 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 54 ลงวันที่ 5 มีนาคม 2518 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 10 ของประเทศไทย

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาขุนตาลซึ่งเป็นเทือกเขาที่แบ่งระหว่างที่ราบลุ่มเชียงใหม่และที่ราบลุ่มลำปาง เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 325-1,373 เมตร จุดสูงสุดในเขตอุทยานแห่งชาติได้แก่ ดอยขุนตาล มีที่ราบอยู่เพียงเล็กน้อยอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศตะวันตก และทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติ เป็นแหล่งต้นน้ำส่วนหนึ่งของแม่น้ำปิงซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกของพื้นที่ และแม่น้ำวังซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของเขตอุทยานแห่งชาติ ลำน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำวังได้แก่ น้ำแม่ค่อม น้ำแม่ต๋ำ น้ำแม่ไพร เป็นต้น ส่วนที่ไหลลงสู่น้ำแม่ทาและออกสู่แม่น้ำปิงในที่สุด ได้แก่ ห้วยแม่ป่าข่า ห้วยแม่ยอนหวายหลวง ห้วยทุ่งไผ่ ห้วยสองท่า ห้วยแม่โฮ่งห่าง เป็นต้น

ลักษณะภูมิอากาศ
พื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลตั้งอยู่ภาคเหนือของประเทศ ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งพัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดมาจากผืนแผ่นดินใหญ่ของประเทศจีน ทำให้เกิดฤดูกาล 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีอยู่ในช่วง 1,050-1,290 มิลลิเมตร และต่อด้วยฤดูหนาว ซึ่งอยู่ในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และในช่วงเปลี่ยนฤดูมรสุม ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน จะเป็นฤดูร้อน ซึ่งอากาศจะร้อนอบอ้าวก่อนที่จะเริ่มฤดูฝนต่อไปในเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26 องศาเซลเซียส เฉลี่ยต่ำสุดในเดือนธันวาคม และสูงสุดในช่วงเดือนเมษายน

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สังคมพืชของอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลสามารถจำแนกออกได้เป็น

ป่าดิบแล้ง ขึ้นครอบคลุมพื้นที่ที่มีความชื้นค่อนข้างสูง โดยเฉพาะตามหุบเขาหรือร่องห้วย เช่น หุบเขาแม่ตาลน้อย ห้วยแม่ไพร ห้วยแม่เฟือง ห้วยแม่ออน ห้วยหลวง และห้วยแม่ค่อม โดยมีระดับความสูงจากน้ำทะเลเฉลี่ย 500-1,000 เมตร ชนิดไม้ที่พบได้แก่ โพบาย ยาง ตะคร้ำ สัตตบรรณ ตะเคียน ยมหอม มะหาด มะม่วงป่า กระท้อน พระเจ้าห้าพระองค์ ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หวาย พืชในวงศ์ขิงข่า ผักกูด ผักหนาม และเฟิน เป็นต้น

ป่าดิบเขา ขึ้นปกคลุมพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป ชนิดไม้ที่พบได้แก่ ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อหัวหมู ก่อน้ำ มะก่อ ทะโล้ จำปาป่า แหลบุก สารภีป่า รักขาว ลำพูป่า ฯลฯ

ป่าสนเขา พบกระจายเป็นหย่อมเล็กๆ บริเวณ ย.2 ย.3 และ ย.4 ป่าสนเขาในบริเวณนี้เป็นป่าที่ปลูกขึ้นมากว่า 50 ปี ชนิดสนที่พบได้แก่ สนสามใบ นอกจากนี้ยังมีไม้อื่นขึ้นปะปนได้แก่ กางขี้มอด กระพี้เขาควาย มะขามป้อม มะกอกเกลื้อน ประดู่ตะเลน อ้อยช้าง แข้งกวาง เป็นต้น

ป่าเต็งรัง ขึ้นปกคลุมตามเชิงเขาโดยรอบทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีสภาพดินเป็นกรวดหรือดินลูกรัง มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ชนิดไม้ที่พบได้แก่ พลวง เหียง รักใหญ่ เก็ดแดง กาสามปีก รกฟ้า ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ เป้งเขา และหญ้าชนิดต่างๆ

ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าที่ขึ้นระหว่างป่าเต็งรังและป่าดงดิบบริเวณเชิงเขาทั้งทางด้านตะวันตกและตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ มีไผ่ซางขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ชนิดไม้ที่พบได้แก่ มะเกลือเลือด แดง มะกอกเกลื้อน สมอพิเภก ตะแบกแดง และงิ้วป่า เป็นต้น

สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ประกอบด้วย เก้ง หมูป่า ชะมดแผงหางปล้อง อ้นเล็ก กระแตเหนือ กระรอกท้องแดง กระเล็นขนปลายหูสั้น กระจ้อน ค้างคาวขอบหูขาวกลาง หนูท้องขาว ไก่ป่า นกยางกรอกพันธุ์จีน นกยางไฟหัวน้ำตาล นกคุ่มอกลาย นกปากซ่อมหางพัด นกชายเลนน้ำจืด นกเด้าดิน นกเขาไฟ นกอีวาบตั๊กแตนนกบั้งรอกใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกเค้ากู่ นกแอ่นตาล นกกะเต็นน้อย นกจาบคาเล็ก นกตะขาบทุ่ง นกตีทอง นกเด้าลมเหลือง นกเขนน้อยปีกแถบขาว นกขมิ้นน้อยสวน นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า นกปรอดเหลืองหัวจุก นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ นกกินปลีอกเหลือง จิ้งจกหางแบน กิ้งก่าบินปีกสีส้ม จิ้งเหลนหลากหลาย ตะกวด งูลายสอสวน งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว คางคกบ้าน กบหนอง และอึ่งข้างดำ เป็นต้น

อุโมงค์ขุนตาน
เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดผ่านที่ยาวที่สุดในประเทศไทย คือ ยาว 1,352 เมตร มีสวนไม้ดอกตกแต่งไว้อย่างสวยงาม ศาลเจ้าพ่อขุนตาลและอนุสาวรีย์ ซึ่งสร้างเป็นอนุสรณ์แก่ Emil Eisenhofer ชาวเยอรมัน ผู้ดำเนินการควบคุมการสร้าง
กิจกรรม -ชมประวัติศาสตร์

จุดยุทธศาสตร์ที่ 1 "ย.1"
เดินทางเท้าจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทางประมาณ 1,500 เมตร จะถึง ย. 1 บริเวณนี้เป็นที่ตั้งบ้านพักรับรองของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินเคยใช้เป็นที่ประทับแรมระหว่างการก่อสร้างอุโมงค์ ปัจจุบันการรถไฟประเทศไทย เปิดให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - ชมประวัติศาสตร์

จุดยุทธศาสตร์ที่ 2 "ย.2"
ย.2 อยู่ห่างจาก ย.1 ประมาณ 800 เมตร บริเวณนี้มีสนเขาขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ทำให้บริเวณนั้นมีความร่มเย็นสวยงามตามธรรมชาติ ในอดีตบริเวณที่ใกล้ๆ ยอดเขาเคยเป็นแค็มป์ของบริษัททำไม้ ซึ่งมาหยุดกิจการช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากนั้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ซื้อพื้นที่นี้เพื่อสร้างบ้านพักและปลูกสวนดอกไม้ สวนผลไม้ เป็นสถานที่พักผ่อนส่วนตัว มีสวนลิ้นจี่ สถานที่นี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จไปพักผ่อนอิริยาบทที่เรือนรับรองนี้ 2 ครั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2512 และ 2516
กิจกรรม -แค็มป์ปิ้ง - ชมประวัติศาสตร์ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ

จุดยุทธศาสตร์ที่ 3 "ย.3"
ห่างจาก ย. 2 ประมาณ 3,500 เมตร สภาพร่มรื่นด้วยป่าดิบเขาและมีนกป่าสวยงามให้ชมตลอดทาง เช่น นกสาลิกาเขียว นกพญาไฟใหญ่ นกปีกลายสก็อต นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ ฯลฯ บริเวณนี้เป็นสถานที่ที่คณะมิชชันนารีอเมริกันคริสตจักร ได้มาสร้างบ้านพักท่ามกลางดงสนเขา ภายหลังจากที่มีการสร้างทางรถไฟเสร็จแล้ว และคณะมิชชันนารีจะเดินทางมาพักผ่อนในเดือนเมษายนเป็นประจำทุกปี ปัจจุบันบ้านพักอยู่ในการดูแลของมหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ และเปิดบริการให้แก่นักท่องเที่ยวทั่วไป
กิจกรรม -ชมประวัติศาสตร์ - ดูนก - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ

จุดยุทธศาสตร์ที่ 4 "ย.4"
ย.4 อยู่ห่างจาก ย.3 มาประมาณ 1,000 เมตร เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของเทือกเขาขุนตาล ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสถานที่ส่องกล้องทางไกล ซึ่งเรียกว่า ม่อนส่องกล้อง สามารถมองเห็นทัศนียภาพตัวเมืองลำปางได้อย่างชัดเจน ก่อนถึงยอดเขานี้จะผ่านป่าธรรมชาติที่ร่มรื่นและเย็นสบายตลอดทาง
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - ชมประวัติศาสตร์ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ

น้ำตกตาดเหมย
น้ำตกนี้อยู่แยกจากเส้นทางด้านซ้ายมือ ระหว่างทางจาก ย. 2 ไป ย. 3 โดยต้องเดินทางลงไปในหุบเขาแม่ยอนหวาย ประมาณ 300 เมตร
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก

น้ำตกแม่ลอง
น้ำตกนี้อยู่ทางทิศใต้ของสถานีรถไฟขุนตาน ห่างไปประมาณ 10 กิโลเมตร โดยลงรถไฟที่สถานีแม่ตาลน้อย แล้วเดินเท้าไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร จะมีน้ำตกอยู่ตลอดปี สภาพป่าร่มเย็นตลอดทั้งปี

สถานที่ติดต่อ อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล
หมู่ 8 ต.ทาปลาดุก อ. แม่ทา จ. ลำพูน 51140 โทรศัพท์ 0 5351 9216-7


การเดินทาง
รถยนต์
อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล ผู้ที่มาเยือนสามารถเดินทางทางรถยนต์ได้ 2 เส้นทาง คือ
• จากแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 สายลำปาง-เชียงใหม่ บริเวณกิโลเมตรที่ 15 - 16 บริเวณใกล้อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ให้เลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 28 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
• เดินทางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 แยกขวาระหว่างกิโลเมตรที่ 46 - 47 บริเวณอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน เป็นทางลาดยาง ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

รถไฟ
ตามเส้นทางรถไฟสายเหนือ โดยลงที่สถานีขุนตาลแล้วเดินประมาณ 1.3 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล

ที่พักแรม/บ้านพัก
มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว จำนวน 7 หลัง

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมเต็นท์และสถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง สำหรับอัตราค่าบริการอยู่ระหว่าง 250-800 บาท ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เช่น

รายการที่ 1
- เต็นท์ ขนาด 3 คน ราคา 250 บาท/คืน
- เต็นท์โดม ขนาด 5 คน ราคา 400 บาท/คืน
- เต็นท์เคบิน ขนาด 6 คน ราคา 500 บาท/คืน
- เต็นท์ค่าย ขนาด 6 คน ราคา 500 บาท/คืน
แต่ละประเภทจะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอน ที่รองนอน ถุงนอน และชุดสนาม

รายการที่ 2
- เต็นท์ ขนาด 2 คน ราคา 400 บาท/คืน
- เต็นท์โดม ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
- เต็นท์เคบิน ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
- เต็นท์ค่าย ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
แต่ละประเภทจะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอนใหญ่ ที่นอน ผ่าห่ม และชุดสนาม
กรณีที่นำเต็นท์ไปกางเอง ต้องเสียค่าบริการสถานที่ 30 บาท/คน/คืน หากไม่มีเครื่องนอนก็ใช้บริการเครื่องนอนและอุปกรณ์สนามของอุทยานฯ มีอัตราค่าบริการเครื่องนอนกรณีนำเต็นท์ไปเอง มีดังนี้
1) ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอน ถุงนอน ที่รองนอน และชุดสนาม ราคา 150 บาท/ชุด/คืน
2) ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอนใหญ่ ที่นอน ผ่าห่ม และชุดสนาม ราคา 200 บาท/ชุด/คืน

ค่ายเยาวชน
มีค่ายพักเยาวชนให้บริการ จำนวน 1 หลัง พักได้ 48 คน

บริการอาหาร
มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.

ข้อความจาก :www.moohin.com

ประวัติย่อ จังหวัดลำพูน

ลำพูน เป็นจังหวัดที่เก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือ เดิมมีชื่อว่า นครหริภุญชัย สร้างเมื่อ พ.ศ. 1200 โดยฤาษีวาสุเทพ ได้เกณฑ์ พวกเมงคบุตรเชื้อสายมอญมาสร้างระหว่างแม่น้ำ 2สายคือแม่น้ำปิง และแม่น้ำกวง เมื่อสร้างเสร็จได้เชิญพระธิดาพระมหากษัตริย์ แห่งกรุงละโว้ พระนามว่า จามเทวี มาครองเมือง มีกษัตริย์ครองเมืองหลายราชวงศ์ จนมาถึงสมัยกรุงธนบุรี เจ้ากาวิละได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้ากรุงธนบุรี ทําการขับไล่พม่าจนสําเร็จได้ไปครองเมือง
เชียงใหม่ และให้เจ้าคําฝน น้องชายครองเมืองลําพูน ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ลําพูนมีฐานะเป็นเมืองขึ้น มีเจ้าผู้ครองนครสืบต่อกันมาจนถึงพลตรีเจ้าจักรคําขจรศักดิ์ เป็นเจ้าผู้ครองนคร และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 จึงได้ยกเลิกตําแหน่งเจ้าผู้ครองนคร

อาณาจักรหริภุญชัย

อาณาจักรหริภุญชัย (ประมาณ พ.ศ. 1206-1835) ตำนานจามเทวีโบราณได้บันทึกไว้ว่า ฤๅษีวาสุเทพ เป็นผู้สร้างเมืองหริภุญชัยขึ้นในปี พ.ศ. 1204 แล้วต่อมาได้อัญเชิญพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ขอมจากเมืองละโว้ขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัย ในครั้งนั้นพระนางจามเทวี ได้นำพระสงฆ์ นักปราชญ์ และช่างศิลปะต่าง ๆ ขึ้นไปด้วยเป็นจำนวนมาก ราวหมื่นคน พระนางได้ทำนุบำรุงและก่อสร้างบ้านเมือง ทำให้ เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) นั้นเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ต่อมาพระนางได้สร้างเขลางค์นคร (ลำปาง) ขึ้นอีกเมืองหนึ่งให้เป็นเมืองสำคัญ สมัยนั้นปรากฏมีการใช้ภาษามอญโบราณในศิลาจารึกของหริภุญชัย มีหนังสือหมานซูของจีนสมัยราชวงศ์ถัง กล่าวถึงนครหริภุญไชยไว้ว่า เป็น“อาณาจักรกษัตริย์หญิง นู หวาง โก่ว”
ต่อมา พ.ศ. 1824 พระเจ้าเม็งรายมหาราช กษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรล้านนา ได้ยกกองทัพเข้ายึดเอาเมืองหริภุญชัยจากพระยายีบาได้ใน ต่อจากนั้นอาณาจักรหริภุญชัยจึงสิ้นสุดลงหลังจากรุ่งเรืองมา 618 ปี มีกษัตริย์ครองเมือง 49 พระองค์
ปัจจุบันโบราณสถานสำคัญของอาณาจักรหริภุญชัยนั้นก็คือ พระธาตุหริภุญไชย ที่จังหวัดลำพูน และยังมีเมืองโบราณเวียงมโน ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โบราณสถานที่เวียงเกาะ บ้านสองแคว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และเวียงท่ากาน ที่ตำบลบ้านกลาง ต.สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ บางหมู่บ้านของจังหวัดลำพูนนั้นพบว่า ยังมีคนพูดภาษามอญโบราณและอนุรักษ์วัฒนธรรมมอญโบราณอยู่

อาณาจักรหริภุญไชย คืออาณาจักรที่แตกหน่อออกมาจากอาณาจักรทวาราวดี แห่งเมืองละโว้ และคงมีคนเชื้อชาติต่างๆอาศัย อยู่ เพราะคำว่า จาม ซึ่งเป็นชื่อของพระนางจามเทวีนั้น น่าจะมีความหมายว่า พระนางเป็นคนเชื้อชาติ จามที่อยู่ในละโว้ในสมัยทวาราวดี ส่วนคำว่าเทวี มีความหมายว่า พระนางที่เป็นหม้ายซึ่งพระสวามีถึง แก่กรรมไปแล้ว เนื่องจากพระสวามีของพระนางคือเจ้าราม หรือกษัตริย์แห่งเมืองราม ได้ถึงแก่กรรม ก่อนพระนางจะขึ้นมาลำพูน (ตามตำนานเมืองเหนือที่กล่าวถึงการสร้างเมืองหริภุญไชย)ดังนั้นพระนาง จามเทวีจึงน่าจะเป็นคนเชื้อชาติจามที่อยู่ในดินแดนทวาราวดีทางตอนใต้ของลำพูน ซึ่งก็คือเมืองละโว้ มีบางตำนานกล่าวว่า พระนางเป็นธิดาของกษัตริย์เมืองละโว้ เมื่อพระนางสร้างเมืองหริภุญไชย ศิลปะ ที่ปรากฎจึงมักเป็นศิลปะ ของทวาราวดี

พระนางจามเทวีจากเมืองละโว้ (ทวาราวดี) ขึ้นมาครองเมืองลำพูนเป็นคนแรกเมื่อประมาณปีพศ.1311 - 1318 (768- 775) ตามคำเชิญของฤษีวาสุเทพและฤษีสุกันตะ ขณะที่เสด็จขึ้นมานั้น พระนางทรง พระครรภ์ได้ 3 เดือน และได้สร้างเมืองต่างๆ ตามรายทางไว้มากมาย เมื่อคลอดโอรสออกมาแล้ว ปรา กฎว่าเป็นโอรสแฝด องค์พี่ชื่อ เจ้ามหันตยศ องค์น้องชื่อ เจ้าอนันตยศ ซึ่งพระนางก็ได้มอบเมืองลำพูน ให้องค์พี่ และสร้างเมืองลำปางให้องค์น้อง

ลำพูนมีสงครามกับลพบุรี (ในสมัยอยู่ใต้อิทธิพลของเขมร)ในครั้งแรกประมาณปีพศ.1550-1560 (1007 - 1017) เป็นช่วงเวลา ที่เขมรเข้ามามีอิทธิพลเหนือลพบุรี จึงสันนิษฐานว่า กษัตริย์ลพบุรีที่ กล่าวถึงในตำนานนั้น น่าจะเป็นกษัตริย์หรือแม่ทัพเขมรมากกว่า การที่ชาวลำพูนต้องรบกับลพบุรีนั้น ก็คงจะเป็นการเข้าไปช่วยละโว้ (ลพบุรี) ซึ่งเป็นคนเชื้อชาติเดียวกันรบกับเขมรนั่นเอง และเมื่อทัพจาก ลพบุรี (ซึ่งมีนายทัพเป็นเขมร) ยกขึ้นมาตีลำพูนก็ไม่เคยตีได้ อาจเป็นเพราะว่า ทหารเมืองลำพูนและ ทหารเมืองลพบุรีเป็นคนเชื้อชาติเดียวกัน แต่ผู้ที่คุมทัพลพบุรีคือเขมร ดังนั้นคงจะเกิดการบังคับให้พวก ลพบุรีขึ้นมารบกับลำพูนโดยไม่เต็มใจ เขมรจึงไม่เคยรบชนะหริภุญไชยได้เลยตลอดประวัติศาสตร์ ในตำ นานเมืองเหนือยังกล่าวไว้ด้วยว่า ในการยกทัพมาตีเมืองลำพูน 2 ครั้งหลัง ทหารเมืองลพบุรีเกิดหลงทาง หาทางเข้าเมืองลำพูนไม่ถูกทั้ง 2 ครั้ง ทัพลพบุรีจึงต้องยกกลับ อาจเป็นได้ว่า ทหารลพบุรีคงจะ แกล้งนำ ทางให้หลง ทำให้ไม่สามารถเข้าตีลำพูนได้

ปีพศ. 1590 (1047) เกิดอหิวาห์ระบาดขึ้นในเมืองลำพูน ทำให้ประชาชนต้องหนีเข้าไปในพม่า และอา ศัยอยู่ที่เมืองหงสาวดีถึง 6 ปี ซึ่งขณะนั้นหงสาวดียังเป็นเมืองของพวกมอญอยู่(มอญและทวาราวดีมีความ ใกล้ชิดกันทางเชื้อชาติ) ชาวลำพูนจึงได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากชาวเมืองหงสาวดี เพราะชาวเมือง ลำพูนและหงสาวดีต่างก็เป็นคนที่เกือบจะมีเชื้อชาติเดียวกัน และพูดภาษาเดียวกัน จนเมื่อสถานการณ์ โรคระบาดดีขึ้นแล้ว ชาวลำพูนจึงได้กลับมายังบ้านเมืองของตน เมื่อกลับมาแล้ว คงจะเกิดความคิดถึง ชาวเมืองหงสาวดีที่ได้เคยไปอาศัยพักพิง จึงพากันนำอาหารใส่ภาชนะแล้วลอยไปในแม่น้ำ ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นสายน้ำที่ไหลไปถึง เมืองหงสาวดี และสันนิษฐานว่าการลอยภาชนะใส่อาหารลงในแม่น้ำนั้น คงเป็น ต้นกำเนิดของประเพณีลอยกระทงที่มีสืบทอดกัน มาจนถึงทุกวันนี้

ราวปีพศ.1700-1835(1157-1292) เป็นช่วงเวลาก่อนที่พระยาเม็งรายจะสถาปนาอาณาจักรล้านนา และเป็นยุคทองของ หริภุญไชย ในสมัยพระเจ้าอาทิตยราชได้สร้างพระธาตุหริภุญไชยขึ้นเป็นครั้งแรก สูง 6 ม. สามารถมองเห็นพระธาตุที่บรรจุอยู่ภายในได้ สมัยพระยาสวาธิสิทธิได้สร้างเสริมขึ้นไปจนสูง 12 เมตร พร้อมทั้งสร้างวัดมหาวันและบูรณะวัดมหาพล มีบันทึกว่า มีพระสงฆ์จากลังกาเดินทางมาหริ ภุญไชยในสมัยนี้ ปีพศ.1835 พระยาเม็งรายยกกองทัพเข้ามาโจมตีหริภุญไชยและยึดเมืองได้ในอีก 4 ปีต่อมา อาณาจักรหริภุญไชยที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ราวปีพศ. 1311 (768) ก็ต้องสูญเสียอำนาจให้กับ พระยาเม็งราย รวมเวลา เป็นอาณาจักร 528 ปี

ข้อความจาก :http://th.wikipedia.org

การสูญพันธุ์ของถนนสายต้นยางเชียงใหม่-ลำพูน





เป็นวาบความคิดหลังการสนทนาบล็อกเกอร์ภาคเหนือเมื่อวันที่ 8 มีนาคม ที่ผ่านมาเกี่ยวกับประเด็นผังเมืองเชียงใหม่ผลกระทบต่อชุมชน และได้มีการแตะไปถึงการขยายตัวของเมืองและโครงข่ายคมนาคมของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเกี่ยวพันไปกับทุนอสังหาริมทรัพย์ที่กระจายตัวล้อมรอบตัวเมือง ซึ่งมีประเด็นหนึ่งได้กล่าวถึงการขยายถนนจากย่านวัดเกตุ ยางไปถึงถนนสายต้นยาง (นา) เชียงใหม่ – ลำพูน ก็อดเป็นห่วงไม่ได้ว่าอนาคตจะยังเหลือถนนที่มีต้นยางที่สวยงามที่สุดในประเทศแห่งนี้หรือไม่

ไม่มีใครรับประกัน เพราะถนนสายหนึ่งที่เคยถูกกระทำมาแล้วคือถนนต้นพะยอม หรือคะยอม ที่ถูกตัดไปในช่วงครบ 700 ปี เมืองเชียงใหม่เพื่อให้มีการขยายถนนสุเทพหลังมช. และถึงปัจจุบันคนก็ลืมเลือนไปว่ากาดต้นพะยอมมีความเป็นมาจากอะไร


ผมชอบมากหากไปลำพูนแบบไม่รีบเร่งต้องไปถนนสายนี้ ซี่งไม่สามารถขับรถเร็วได้ หากต้องการเดินทางไปด่วนต้องไปถนนสายเชียงใหม่ – ลำปาง แต่ช่วงหลังยอมรับว่าเวลาทำให้ผมใช้เส้นทางนี้น้อยลง แต่ไม่สามารถลืมถนนเส้นนี้ได้เพราะเป็นเอกลักษณ์ของเชียงใหม่ เพราะมีความยาวตั้งแต่ย่านหนองหอยจนถึงสารภี แม้ขับรถอยู่ถนนไกล ๆ ก็ยังเห็นต้นยางสูงตระหง่านเป็น Land Mark อยู่ตลอด

เบื้องต้นผมประมวลการสูญพันธุ์ของถนนประวัติศาสตร์สายต้นยางเชียงใหม่ – ลำพูนแห่งนี้ไว้ 4 -5 ด้านด้วยกัน

1.) การทำร้ายของมนุษย์ด้วยความโลภ หรือความไม่รู้ บางคนต้องการขยายหน้าร้านพื้นที่เพิ่มก็เอาสว่านเจาะ ใช้ดินประสิวใช้น้ำร้อน ตะปูตอกติดป้ายโฆษณา การเทซีเมนต์ล้อมรอบโคนต้น ทำลายราก ให้ต้นไม้ตายซากเพื่อจะได้โค่นทิ้ง กระทั่งมีการกำหนดกลยุทธ์ออกมาว่าหากใครทำลายต้นยางนา จะมีบาปกรรมเทียบเท่ากับการฆ่าพระฆ่าเณร ก็รักษามาได้ระดับหนึ่งแต่ปัจจุบันนี้มีแนวโน้มว่าคำขู่นี้จะอ่อนแรงทุกที

2.) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเมืองด้วยถนนตัดใหม่ หรือตามกฎหมายผังเมืองที่จะขยายถนนกว้าง 20 เมตร

3.) ด้วยอายุขัยของต้นไม้ หรือธรรมชาติเอง เช่น จากลมพายุ หรือถูกเชื้อราและแมลงเข้าไปทำลายทำให้เนื้อไม้ผุและเกิดเป็นโพรง เป็นต้น

4.) การสร้างอันตรายกับการสัญจรก็เป็นทั้งข้อเท็จจริงและข้ออ้างในการตัดต้นยางไปหลายต้นแล้ว

5.) การหลงลืมความเป็นถนนประวัติศาสตร์ของคนรุ่นห
ลัง

แต่ในทางการดูแลรักษาผมทราบว่าล่าสุดถนนสายนี้อยู่ภายใต้การดูแลของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่แล้ว แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงที่จะผิดปกติไปจากธรรมชาติผมคิดว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้องครับ โดยเฉพาะเรื่องการที่คนโลภหรือไม่รักต้นไม้รังแก หรือการรังแกด้วยกฎหมาย และการไม่หวงแหนสิ่งที่มีค่าที่สุดกับเมืองเชียงใหม่ นี่สำคัญมากกว่า


ผมมีความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาถนนนี้เชิงการท่องเที่ยว-อนุรักษื คือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย อบจ. อบต.ในพื้นที่น่าจะจัดงานเชิงประวัติศาสตร์ – วัฒนธรรมของถนนสายนี้ในปีที่ 125 เป็นถนนที่ปลูกต้นยางใหญ่ซึ่งไม่มีที่ไหนในโลก   ที่สวยงาม เก่าแก่  ในประเทศไทยมีที่นี่แห่งเดียว  900 กว่าต้น ซึ่งแต่ละต้นมีขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณเมตรครึ่ง ปลูกมานานกว่า 100 ปี สามารถจัดเป็น Unseenได้อีกแห่ง และสามารถจัด Event ตลอดทั้งสายให้ย้อนยุคเป็นล้อเกวียน การขายของแบบโบราณ ซึ่งสามารถดึงนักท่องเที่ยวได้อย่างมหาศาล หากจัดได้จะเป็นงานระดับนานาชาติของเชียงใหม่อีกงานหนึ่งเลยทีดียว

หากจะประมาณการต้นยางในปัจจุบันแล้วผมคิดว่าน่าจะมีไม่เกิน  900 ต้น แต่ก่อนหน้านั้นในปี 2537 – 2546 มีต้นยางยืนตาย ถูกฟ้าผ่า พายุพัดโค่นล้ม 7 ต้น และกรมโยธาขอตัดออก เพื่อก่อสร้างถนนวงแหวน รอบกลาง สาย อีก ต้น รวม 75 ต้น ปัจจุบันเหลือต้นยาง 936 ต้น

ขณะที่มีตัวเลขอีกด้านหนึ่งเมื่อปี พศ. 2539 มีจำนวน 1107 ต้น ( Pooma, 1996) ต้นยางนาที่เหลืออยู่ บางต้นอยู่ในสภาพทรุดโทรม ต้นที่ตายแล้วจะต้องถูกตัดทิ้ง บางต้นลำต้นหรือกิ่งเป็นโพรงผุ หรือเป็นแผลขนาดใหญ่ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การบดอัดผิวถนน การเทซีเมนต์ล้อมรอบโคนต้นและพื้นที่โดยรอบ ขับขี่ยานพาหนะเข้าชนหรือกระแทก การทิ้งขยะสารเคมี และสิ่งของต่างๆ แล้วเผา บริเวณโคนต้น การติดป้ายโฆษณาหรือที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งคือ การจงใจทำให้ต้นยางนาตายโดยใส่สารพิษบริเวณโคนต้นให้รากดูดซับเข้าไป สำหรับสาเหตุที่เกิดจากธรรมชาติได้แก่ การถูกลมพัดทำให้โค่นล้มหรือกิ่งหัก ถูกเชื้อราและแมลงเข้าไปทำลายทำให้เนื้อไม้ผุและเกิดเป็นโพรง เป็นต้น

ปี 2536 แขวงการทางเชียงใหม่ที่ 2 กรมทางหลวง สำรวจตรวจนับต้นยางที่อยู่ในเขตทางหลวงมี 1,011 ต้น แต่มีต้นยางบางต้นยืนแห้งตาย จึงประสานสำนักงานป่าไม้จังหวัด ให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ตัดไม้ยางออก ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ที่กำหนดไว้ว่า การตัดโค่นไม้ยางต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หากตัดโดยพลการจะมีความผิดตามกฎหมาย

ประวัติย่อถนนสายต้นยาง


สำหรับประวัติโดยย่อของถนนสายต้นยางใหญ่  มีดังนี้คือเมื่อปี พ.ศ.2442 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ซึ่งสยามประเทศได้มีการจัดการปกครองส่วนภูมิภาคจากเมืองประเทศราชมาเป็นรูปแบบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล มีข้าหลวงจากรัฐบาลกรุงเทพมาปกครองเชียงใหม่ในเวลานั้นอยู่ในช่วงปลายสมัยเจ้าอินทวโรรส เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 8 รัฐบาลส่วนกลางก็ยกเลิกอำนาจการปกครองของเจ้าหลวง ให้ข้าหลวงประจำเมืองทำหน้าที่แทน แต่ยังคงดำรงตำแหน่ง "เจ้าหลวง" เอาไว้เป็นประมุขของเชียงใหม่

เมืองเชียงใหม่ในสมัยต้นปลายสมัยพระเจ้าอินทวโรรส   เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่   ซึ่งอยู่ในความดูแลของ     "ข้าหลวงสิทธิ์ขาดมณฑลพายัพ"    ผู้ดำรงตำแหน่งนี้เป็นคนแรกของมณฑลพายัพ  คือ   เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐ์ศักดิ์  (เชยกัลยาณมิตรท่านได้กำหนดนโยบาย  ที่เรียกว่า "น้ำต้อง กองต๋ำ" ซึ่งหมายถึงการพัฒนาคูคลองร่องน้ำ  การตัดถนนหนทางและการปรับปรุงถนนหลวงให้ความร่มรื่นแก่ผู้สัญจรไปมา    จึงเป็นต้นกำเนิดต้นไม้ริมทางหลวง  โดยกำหนดให้ทางหลวงแต่ละสายปลูกต้นไม้ไม่ซ้ำกัน กล่าวคือ

ถนนสายเชียงใหม่-สันป่าตอง ปลูกต้นขี้เหล็ก (ปัจจุบันไม่เหลือหรอ)

ถนนสายเชียงใหม่-ดอยสะเก็ด ปลูกต้นประดู่ (ปัจจุบันไม่เหลือหรอ)

ถนนรอบคูเมือง ปลูกต้นสักกับต้นสน (ปัจจุบันไม่เหลือหรอ)

ถนนในเมือง ประดับด้วยต้นโอ๊คพันธุ์เมืองหนาว (ปัจจุบันไม่เหลือหรอ)

(ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง, เพ็ชร์ล้านนา, 2507, หน้า 143-144)

สำหรับสายต้นยางนั้น เจ้าพระยาสุรสีห์ฯ เป็นผู้ริเริ่มนำพันธ์ต้นยางมาปลูกสองข้างทางจากขัวย่านอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่จนจรดเขตอำเภอเมืองลำพูน ท่านกำชับว่า ถ้าต้นยางตรงกับหน้าบ้านผู้ใดก็ให้เจ้าของบ้านผู้นั้นเอาใจใส่ทำรั้วล้อมรอบ เพื่อกันวัวควายเข้ามาเหยียบย่ำ และให้หมั่นรดน้ำพรวนดินดายหญ้าใส่ปุ๋ย ท่านนำพันธ์ต้นยางมาปลูกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2425 สำหรับการปลูกต้นยางสารภีนั้น เริ่มต้นปลูกอย่างจริงจัง เมื่อปี พ.ศ.2465 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 นับจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ (พ.ศ. 2551) รวมเป็นเวลา 126 ปี

ย้อนประวัติศาสตร์ถนนสายต้นยางนา

ประมาณปี พ.ศ. 1837 พญามังรายทรงสถาปนาเวียงกุมกามให้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา แต่เนื่องจากเวียงกุมกามเกิดปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำ จึงย้ายมาอยู่ที่เวียงเชียงใหม่ ซึ่งทำเลที่ตั้งเหมาะสมกว่าในอดีตการคมนาคมระหว่างเชียงใหม่เวียงกุมกาม เวียงหริภุญไชยและอาณาจักรอื่นๆ จะใช้แม่น้ำปิงเป็นหลัก ต่อมาเกิดน้ำท่วมใหญ่ แม่น้ำปิงเปลี่ยนร่องน้ำจากเดิมไหลผ่านด้านทิศตะวันออกของเวียงกุมกามมาเป็นด้านทิศตะวันตก ร่องน้ำเดิมถูกตะกอนทับถมจนตื้นเขิน เหลือเป็นเพียงร่องน้ำขนาดเล็ก ชาวบ้านเรียกร่องน้ำนี้ว่าปิงห่าง (สรัสวดี,2537)

ต่อมามีการตั้งบ้านเรือนตามแนวปิงห่างมากขึ้นเกิดเป็นชุมชนหลายแห่ง ชุมชนแต่ละแห่งมีการติดต่อไปมาหาสู่เป็นประจำ จึงเกิดเป็นทางสัญจรระหว่างชุมชนและพัฒนาเรื่อยมาเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญระหว่างเชียงใหม่กับลำพูน และมีการปรับปรุงและซ่อมแซมตลอดมา ประมาณปี พ.ศ.2438 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5 พระยาทรงสุรเดช (อั้น บุนนาค) ข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวเฉียง ได้ปรับปรุงและขยายเส้นทางสายนี้ให้กว้างขึ้น จนเกวียนสามารถเดินได้ (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.ศ. 114)

ในปี พ.ศ. 2449 ( ร.ศ. 124) เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ ได้ปรับปรุงเส้นทางสายนี้อีกครั้งโดยให้ มิสเตอร์ โรเบิร์ต ข้าหลวงโยธาเป็นผู้ให้คำแนะนำซึ่งการปรับปรุงครั้งนี้ทำให้เส้นทางสายนี้สภาพดีขึ้นและมีความกว้างกว่า 3 วา เท่ากันตลอดทั้งเส้น (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.ศ. 124) เป็นที่มาของถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ ถนนสายนี้เริ่มต้นที่เชิงสะพานนวรัฐ ตรงไปตำบลหนองหอย และเริ่มเลียบแนวปิงห่างที่วัดกู่ขาวไปจนถึงลำพูน โดยถนนบางช่วงอยู่บนผนังดินดินธรรมชาติของปิงห่าง มีความยาวทั้งหมด27.25 กิโลเมตร ความกว้างผิวทางเฉลี่ย 5.98 เมตร ต้นยางนาสองข้างท่งถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนคาดว่าปลูกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2445 (Loetsch & Halle, 2505) โดยปลูกต้นยบางในเขตเชียงใหม่และปลุกต้นขี้เหล็กในเขตลำพูนและมีการกำหนดกฎระเบียบ ในการดูแลรักษาอย่างเคร่งครัด เช่น ห้ามเลี้ยงสัตว์บนเขตถนนและที่ทำการของราชการ หากสัตว์เลี้ยงของผุ้ใดเหยีบย่ำต้นไม้ที่ปลูกไว้จะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 20 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.ศ. 120)

ถ้าต้นยางนาปลูกตรงกับหน้าบ้านใด ก็ให้เจ้าของบ้านผู้นั้นเอาใจใส่ทำรั้วล้อมรอบ เพื่อกันวัวควายเข้ามาเหยียบย่ำ และให้หมั่นรดน้ำพรวนดินดายหญ้า ใส่ปุ๋ย สำหรับต้นยางนาที่ไม่ตรงกับหน้าบ้านผู้ใดจะมอบหมายให้หมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงรับผิดชอบ โดยให้หัวหน้าหมู่บ้านนำลูกบ้านมาช่วยกันดูแลรักษา(เทศบาลตำบลยางเนิ้ง,2546) ด้วยเหตุนี้ต้นยางนาจึงเจริญเติบโตได้ดีและสวยงามมาจนถึงกระทั่งทุกวันนี้

ประวัติถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน

ถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน (สายเก่า) นี้ มีความผูกพันกับแม่น้ำปิงห่าง ต้นยาง และต้นขี้เหล็กอย่างแยกไม่ออก แต่เดิมแม่น้ำปิงตามตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานพื้นเมืองล้านนาเชียงใหม่ ชินกาลมาลีปกรณ์ จะไหลผ่านทางทิศตะวันออกของเวียงกุมกามและทิศตะวันออกของตัวเมืองหริภุญชัยและวัดอรัญญิกรัม มการาม (วัดดอนแก้ว) ซึ่งเป็นสี่มุมเมืองในสมัยพระนางจามเทวี คงอยู่ในพื้นที่ฝั่งเดียวกับตัวเมืองลำพูน ในพงศาวดารโยนกกล่าวถึงพญามังรายยึดครองเมืองหริภุญชัยได้และไปสร้างเมืองใหม่ในทางทิศอีสานของเมืองหริภุญชัยชื่อ ชะแว ได้ 3 ปี เกิดน้ำท่วมจึงไปสร้างเมืองกุมกาม แม่น้ำปิงคงเปลี่ยนทางเดินไหลผ่านเข้าในตัวเมืองหริภุญชัยและไหลผ่านหน้าวัดพระธาตุหริภุญชัยในสมัยพญามังราย ระยะทางจากเวียงกุมกามถึงตัวเมืองหริภุญชัยประมาณ 25 กิโลเมตร จนถึงสิ้นราชวงศ์มังราย


ในสมัยท้าวแม่กุ (พระเจ้าเมกุฏิ) พ.ศ.2101 แม่น้ำปิงยังไหลผ่านทางทิศตะวันออกของเวียงกุมกามและทิศตะวันออกของตัวเมืองหริภุญชัยอยู่ แต่ในระหว่าง พ.ศ.2101 ถึง พ.ศ.2317 พม่าเข้าปกครองล้านนา เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ไม่มีการบันทึก จนถึง พ.ศ.2317 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ยกทัพขึ้นมาตามแม่น้ำปิงสายปัจจุบันนี้ ที่ไหลผ่านทิศตะวันตกของเวียงกุมกามและทิศตะวันตกของเมืองหริภุญชัย แสดงว่าแม่น้ำปิงเปลี่ยนร่องน้ำจากเดิมในช่วงที่พม่าปกครองล้านนา แม่น้ำปิงระหว่างเวียงกุมกามกับเมืองหริภุญชัยจึงกลาย เป็นแม่น้ำปิงห่าง แต่แม่น้ำปิงห่างตั้งแต่บ้านหลิ่งห้า อำเภอเมืองลำพูนไหลไปพบแม่น้ำปิงสายปัจจุบันที่อำเภอป่าซาง ยังมีน้ำจากแม่น้ำกวงไหลลงสู่ลำน้ำปิงห่างอยู่ ซึ่งปัจจุบันจึงเรียกแม่น้ำช่วงนี้เป็น แม่น้ำกวง

แม้จะเป็นแม่น้ำปิงห่าง แต่ก็ยังเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่ใช้ติดต่อกันระหว่างเมืองเชียงใหม่กับเมืองลำพูน อารยธรรมลุ่มแม่น้ำปิงห่างยังปรากฏให้เห็นในการตั้งหมู่บ้านตลอดแนวแม่น้ำและมีวัดสร้างริมฝั่งแม่น้ำตลอดแนวแม่น้ำปิงห่าง ประมาณ 30 วัด

การตั้งถิ่นฐานไปตามแนวแม่น้ำปิงห่าง ทำให้เกิดเส้นทางคมนาคมทางบกเลียบแนวแม่น้ำปิงห่าง เส้นทางสายนี้เป็นเส้นทางสำคัญของการติดต่อระหว่างเมืองเชียงใหม่กับเมืองลำพูนในเวลาต่อมา และมีการพัฒนาเส้นทางขึ้นตามลำดับ ตามหลักฐานของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ได้มีการสร้างถนนอย่างเป็นทางการขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ.2438 โดยพระยาทรงสุรเดช (อั้น บุนนาค) ข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวเฉียง เริ่มสร้างตั้งแต่เชิงสะพานนวรัฐ เลียบแนวแม่น้ำปิงห่างที่วัดกู่ขาว จนถึงเมืองลำพูน ทำให้การคมนาคมในแม่น้ำปิงห่างขาดความสำคัญ และประชาชนได้บุกรุกเข้าอยู่อาศัยจนไม่เหลือสภาพการเป็นแม่น้ำที่สำคัญในอดีตให้เห็น ยกเว้นในบางช่วงในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์อำเภอเมืองลำพูน

ถนนสายนี้ส่วนหนึ่งสร้างบนผนังดินธรรมชาติของแม่น้ำปิงห่าง ถนนสายนี้นับเป็นถนนที่มี ความสำคัญและเป็นถนนสายแรกที่เป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อระหว่างเมืองทั้งสอง มีการซ่อมแซมปรับ ปรุงตลอดมา โดยเฉพาะที่ระบุไว้ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ในปี พ.ศ.2443 พ.ศ.2448 และในปี พ.ศ.2454 ทางราชการได้นำต้นยางมาให้ชาวบ้านช่วยกันปลูกตลอดสองข้างทาง เพื่อความร่มรื่นและสวยงาม ส่วนในเขตเมืองลำพูนได้ปลูกต้นขี้เหล็ก ต้นไม้ตลอดเส้นทางของถนนสายนี้มีร่วมสองพันต้น มีการปลูกเป็นแถวอย่างมีระเบียบ มีระยะห่างกันระหว่างต้นประมาณ 10 ถึง 20 วา ตลอดเส้นทาง

นับเป็นเอกลักษณ์คู่ถนนสายนี้ตลอดมาร่วมร้อยปีแล้ว ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มีการขยายตัวของชุมชนเข้าสู่การเป็นชุมชนเมืองมากยิ่งขึ้น ประกอบกับการขาดการวางแผนการป้องกันระยะยาวอย่างจริงจัง โดยเฉพาะถนนสายนี้ ทำให้มีก่อสร้างอาคารร้านค้าและที่พักอาศัยใกล้ชิดติดแนวถนนและการใช้ที่สาธารณะข้างถนนโดยขาดการอนุรักษ์ต้นไม้ มองเฉพาะด้านความปลอดภัยและผลประโยชน์ของบุคคลและกลุ่มคน ทำให้จำนวนต้นไม้ลดจำนวนลงอย่างมากในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา ถ้าสภาพเหตุการณ์ยังเป็นเช่นนี้ เอกลักษณ์ของต้นยาง-ต้นขี้เหล็กที่เคียงคู่กับถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน คงจะเหลือเป็นเพียงตำนานที่เล่าขานให้อนุชนรุ่นหลังเท่านั้น(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมาย เหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ, วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดลำพูน 2542 หน้า 275-277)


ลักษณะทั่วไปของต้นยางนา
ต้นยางนา หรือ ยาง ยางขาว ยางแม่น้ำ ยางหยวก มีชื่อวิทยศาสตร์คือ Dipterocarpus alatus. ex G.Don จัดอยุ่ในวงศ์ไม้ยาง (Family Dipterocarpaceae)

ต้นยางนาเป็นต้นไม้สูงถึง 50 เมตร ไม่ผลัดใบ หรือผลัดใบแต่ผลิใบใหม่เร็ว ลำต้นเปลา ตรง เปลือกหนา ค่อนข้างเรียบ สีเทาอบขาว เปลืกในสีน้าตาลอบชมพู โคนต้นมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่ม เนื้อไม้สีน้ำตาลแดง หูใบ สีเทาอมเหลือง มีขนนุ่ม ใบเดียวรูปไข่หรือรีแกรมรูปขอบขนาน ปลายใบทู่หรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือสอบ เล็กน้อยแผ่นใบค่อนข้างหนา มีขนประปราย ดอกสีชมพู ออกรวมกันเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใกล้ปลายกิ่ง โคนกลีบเลี้ยงมีครีบตามยาว 5 ครีบ ส่วนกรีบดอกจะเกยซ้อนเวียนเป็นรูปกังหันผลกลมรี ยาว3-4 ชม. มีครีบตามยาว 5 ครีบ ปีกคู่ยาว2ปีก แต่ยาวไม่เกิน 16 ชม. ปีกสั้น 3 ปีกรูปหูหนู ทั้งเส้นตามยาวและเส้นแขนงย่อยมักคดไปมาไม่ค่อยเป็นระเบียบ ตามธรรมชาติจะพบตามป่าดิบแล้งและเบญจพรรณขึ้นทั่วไปออกดอกเป็นผลระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ การขยายพันธุ์นิยมใช้เมล็ดเพาะ แต่เมล็ดที่นำมาเพาะควรมีอายุไม่เกิน 10 วัน หลังจากร่วงจากต้น การปลูกระยะแรกต้องมีร่มเงาบังแดด และมีความชุ่มชื้นพอควร

ต้นยางนามีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่บังกลาเทศ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมีรายงานว่าพบแถบอันดามันและตอนบนของมาเลเซีย ในประเทศไทยต้นยางนามักพบขึ้นอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำทั่วไปในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ในระดับความสูงไม่เกิน 350 เมตรพบน้อยที่ต้นยางนาจะขึ้นในที่สูงเกินกว่าระดับนี้

ลำต้นของต้นยางนามีขนาดใหญ่ เปลาตรง แตกกิ่งก้านน้อย สามารถแปรรูปเป็นไม้แปรรูปหน้าใหญ่ มีความยาวไม่คดงอ เนื้อไม้มีความคงทนและทำไม้อัดได้คุณภาพดี นอกจากนี้ต้นยางนาสามารถผลิตน้ำมันยาง (Oleoresin) ซึ่งใช้ประโยชน์ในการทำไต้ น้ำมันชักเงา น้ำยาป้องกันรักษาไม้ไผ่ หมึกพิมพ์ ยาเรือ ตะกร้า ภาชนะต่างๆ

บทสรุป

ผมหวังไว้อย่างเดียวว่าต้นยางสายเชียงใหม่ – ลำพูนจะคงอยู่ และเสื่อมสลายไปกับธรรมชาติมากกว่าที่จะเป็นน้ำมือมนุษย์และกฎหมายที่มนุษย์สร้างขึ้น

อ้างอิง


2.)   เว็บของเทศบาลตำบลสารภี http://www.saraphi.com / เทศบาลตำบลยางเนิ้ง www.theyang.go.th










 โดยคุณ อาคม ข้อความ และรูปภาพจาก :www.oknation.net

Langan Fair

Langan Fair This fair, held in August every year, features a contest to judge the best fruit and select Miss Lamyai (Langan) for each year.

Mae Ping National Park

Mae Ping National Park situated at km. 47 on Lamphun - Li - Thoen route, (Highway 106) the park covers a lake and a forest above Phumiphol Dam. Attractions in the area of the park are : Namtok Ko Luang , Tham Yang Wi , and Kaeng Ko, etc. Langan Fair.

Doi Khun Tan National Park

Doi Khun Tan is located on a mountain range bordering on both Lampang and Lamphun Provinces. There is a 1,362 meter long tunnel, regarded the longest in Thailand, for railroad underneath the mountain. There are accommodations, which belong to the Royal State Railway of Thailand, a missionary party, and the Royal Forestry Department, on top of Doi Khun Tan.

Tak Pha Buddha Footprints

The footprints are located on the top of a small hill in the area of Tambon Makok, Amphoe Pa Sang, 16 kms. from the township area. The legend says that Lord Buddha left his footprints during his visit to that locality for Lawa tribal people to pay their homages to in lieu of he himself. He also dried his suffron robe on the cliff where one, at present, can see a mark like a piece of suffron robe being dried there thus originating the name of Tak Pha Buddha Footprints or Drying Suffron Robe Buddha Footprints. Annual celebration takes place on the eight day of warming moon of the sixth lunar month of every year when inhabitants of Lamphun and neighbouring provinces flock to the annual fair.

Ku Kut Pagoda or Wat Chamma Thewi (Swan Changkot Chedi)

This monastery was built around A.D. 755 by Khmer artisans. The pagoda structure is of the square Buddha Gaya Characteristics as seen in India. Three standing Buddha images, in the attitude of blessing are enshrined on each level of the pagoda base of each side totaling 15 images for one side of five levels, grand totaling 60 Buddha image d the pagoda. Relics of Queen Chammathewi, the first ruler of Hariphunchai housed inside the pagoda. The pagoda top was originally covered with gold but later, was broken and disappeared thus giving to the name "Ku Kut" or Pagoda without top.

Other temples in the vicinity include Wat Mahawan , noted for sacred amulets, Wat Phra Yun or Wat Buddha Maha Sathan built by King Thammikarat about one thousand years ago.

Along Highway to Chiang Mai is located the village of Nong Chang Khun which is noted for the biggest plantations of longans in the country.

Hariphunchai National Museum

Hariphunchai National Museum which houses numerous Lanna antiques found in the region. The museum is open to public everyday except Monday, Tuesday and official holidays from 09.00 -16.00. Admission fee is 10 baht.

Wat Phrathat Hariphunchai Lumphoon

This monastery is in the township area, built in the reign of King Athittayarat and has been repaired, renewed, and enlarged from time to time. Phrathat Hariphunchai Pagoda is currently 46 meters high having nine tiered umbrella, made of gold weighing approximately 6,498.75 grams, placing on the top. The base is of square shape with 20 meters in length on each side. On every full moon day of the sixth lunar month, there is a celebration of this Wat Phrathat in term of the annual fair.

Lamphun Tourist Information

Lamphun, formerly Hariphunchai, is another historical sites. The town was founded in the year 1663 and the first ruler was a Queen called Chammathewi. This charming province is also noted for its beautiful women and tasty longans.

With an area of 4,506 sq. kms., the province has 7 Amphoes namely: Muang, Pa Sang, Ban Hong, Mae Tha, Li, Thung Hua Chang, and Ban Thi. The town is about 670 kilometers from Bangkok by car.

จังหวัดลำพูน

ลำพูนเป็นจังหวัดเล็ก ๆ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยความเป็นเมืองเล็ก ๆ จึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ภายในตัวเมืองมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก จึงพบเห็นวัดวาอาราม ถึกเก่า เรือนแถวโบราณ รายเรียงอยู่สองข้างทาง
ถึงแม่จะเป็นเมืองเล็ก ๆ แต่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานที่สุดในแผ่นดินล้านนา อาณาจักรหริภุญไชยเป็นอาณาจักรพระพุทธศาสนาที่เจริญรุ่งเรืองมากว่า 600 ปีก่อน ก่อนที่พญาเม็งรายจะสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้น
ลำพูนเหมาะแก่การเที่ยวชมวัดวาอาราม ศิลปวัฒนธรรม และงานหัตถกรรม โดยเฉพาะความเก่าแก่ในเขต อ.เมือง ส่วนมากมีความเป็นมาย้อนหลังไปไกลถึงพุทธศตวรรษที่ 16-17

ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึกในจังหวัดลำพูน

ร้านคุ้มต้นแก้ว
หลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย ต.ในเมือง อ.เมืองลำพูน โทร.(053)511-0075จำหน่ายสินค้าพื้นเมือง
ร้านสุวรีย์
ตั้งอยู่เลขที่ 250 ถนนป่าซาง-บ้านโฮ่ง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โทร.(053)521106จำหน่ายสินค้าพื้นเมือง
บริษัท วี พี เอ็น คอร์เลคชั่น จำกัด
ตั้งอยู่ที่เลขที่ 190/1 ถนนลำพูน-ริมปิง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โทร.(053)511457, 511419 จำหน่ายสินค้าประเภทดอกไม้ประดิษฐ์ด้วยกระดาษสา
ร้านนันทนีย์บาติก
ตั้งอยู่เลขที่ 245 หมู่ที่ 1 ถนนลำพูน-ลี้ ตำบลป่าซาง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน โทร.(053)521034 จำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก
บ้านหนองเงือก
ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน จำหน่ายสินค้าพื้นเมือง
ร้านนันทขว้างลายคำ
ตั้งอยู่ที่เลขที่ 330/1 หมู่ที่ 1 ถนนลำพูน-ลี้ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน โทร.(053)521076, 521330 จำหน่ายสินค้าประเภทผ้าฝ้าย ผ้าพิมพ์ ผ้าบาติก
ร้านนันทขว้าง
ตั้งอยู่ที่เลขที่ 330 ตลาดป่าซาง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน โทร.(053)521001 จำหน่ายสินค้าประเภทผ้าฝ้าย

ของฝาก ของที่ระลึก จังหวัดลำพูน

ผ้าไหมยกดอก
เป็นศิลปะการทอที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของลำพูน มีลวดลายเฉพาะแบบโบราณ แม้จะมีราคาสูงแต่ความงามของผืนผ้าไหมจากฝีมือหัตถกรรมท้องถิ่น ทำให้ผ้าไหมยกดอกของลำพูนยังได้รับความนิยมทั่วไปและส่งเป็นสินค้าออกต่างประเทศ
ผ้าฝ้ายทอมือบ้านหนองเงือก
มีรูปแบบการทอและลวดลายตกทอดมาจากบรรพบุรุษ สีสันสวยงามเป็นธรรมชาติ นอกจากนี้ยังทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผ้าปูโต๊ะ ผ้ารองจาน ผ้าเช็ดหน้า ฯลฯ หรือเป็นผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านเช่น ผ้าม่าน และตุง (ธงที่ใช้ในพิธีกรรมทางเหนือ)
งานไม้แกะสลัก
ที่เน้นให้เห็นลวดลายของเนื้อไม้ฉำฉา แกะสลักเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ รูปตุ๊กตา เป็นภาชนะใช้สอยในครัวเรือนหรือของใช้ประดับตกแต่งบ้าน แหล่งผลิตอยู่ที่อำเภอแม่ทา ตามถนนสายท่าจักร-แม่ทา ซึ่งแต่ละบ้านล้วนประกอบอาชีพเป็นช่างแกะสลัก
ลำไย
ลำพูนเป็นแหล่งผลิตลำไยมากที่สุดในประเทศ แหล่งผลิตใหญ่ อยู่ที่บ้านหนองช้างคืน อำเภอเมือง พันธุ์ลำไยของที่นี่มีรสชาติหวานกรอบ ในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปีจะมีงานเทศกาลลำไย จำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรซึ่งเป็นงานใหญ่ประจำปีของจังหวัด
หอมกระเทียม
ผลิตผลทางการเกษตรที่ปลูกมาก และจำหน่ายในราคาถูก

เทศกาลงานประเพณีจังหวัดลำพูน

ประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย
เป็นประเพณีเก่าแก่ มีขึ้นในวันเพ็ญเดือนหก หรือที่ชาวลำพูนเรียกว่า วันแปดเป็งของทุกปี โดยมีพิธีสรงน้ำและงานสมโภชพระธาตุหริภุญชัย พระบาทสมเด็จพระเจาอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำสรงพระธาตุเป็นประจำทุกปี นอกจากชาวลำพูนแล้ว ยังมีชาวจังหวัดใกล้เคียง และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ เข้าชมงานนี้อย่างหนาแน่น
งานเทศกาลลำไย
เป็นงานใหญ่ประจำปีของชาวจังหวัดลำพูน ซึ่งจะจัดในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี ภายในงานจะมีขบวนแห่รถลำไยที่ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม การประกวดธิดาลำไย และการออกร้านค้า ประกวดผลิตผลทางการเกษตร และจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง
งานฤดูหนาวและกาชาดจังหวัดลำพูน
จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ณ สนามกีฬากลางจังหวัด ภายในงานมีนิทรรศการของส่วนราชการ การแสดงมหรสพ การจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร
งานของดีศรีหริภุญชัย
เป็นงานแสดงและจำหน่ายสินค้าผลิตผลทางการเกษตร และเกษตรแปรรูปนานาชนิด ซึ่งเกษตรกรและกลุ่มแม่บ้านของจังหวัดเป็นผู้ผลิต ในงานมีขบวนแห่ของกลุ่มแม่บ้าน การแสดงทางศิลปวัฒนธรรม การประกวดเรือนชนบท การออกร้านขายสินค้าหัตถกรรมในราคาย่อมเยา

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในจังหวัดลำพูน (รหัสทางไกล 053)

ที่ว่าการจังหวัดลำพูน: 511-000
ททท.สำนักงานภาคเหนือเขต 1: 248-604 , 248-607 , 241-446
สถานีตำรวจภูธร: 511-042
ตำรวจทางหลวง จ.ตาก: (055) 511-340
ตำรวจท่องเที่ยว: 1155
ตู้ยามแม่สอด: (055) 532-222
ตู้ยามคลองขลุง: (055) 781-445
ที่ทำการไปรษณีย์: 511-041
สถานีรถไฟลำพูน: 511-016
สถานีขนส่ง: 511-173
รพ.ลำพูน: (054) 511-233 , 511-034
รพ.ลี้: (054) 599-141
รพ.ป่าซาง: (054) 521-222
รพ.บ้านโฮ่ง: (054) 591-232
รพ.แม่ทา: (054) 549-014
รพ.ทุ่งหัวช้าง: (054) 597-020