งานเทศกาลประจำปีของจังหวัดลำพูน

ประเพณีสรงน้ำพระธาตุ หริภุญชัย

เป็นประเพณีเก่าแก่ที่จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนหก หรือที่ชาวลำพูนเรียกว่า วันแปดเป็ง โดยมีพิธีสรงน้ำ และงานสมโภชพระธาตุหริภุญชัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำสรงพระธาตุเป็นประจำทุกปี

งานลำไย

จัดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี ที่บริเวณสนามศาลากลางจังหวัด ภายในงานจะมีขบวนแห่รถลำไยที่ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม การประกวดธิดาลำไย ประกวดผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง

งานฤดูหนาวและกาชาด

จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ณ สนามกีฬากลางจังหวัด ภายในงานมีนิทรรศการ การแสดงมหรสพให้ชมหลายรายการ และจำหน่ายสินค้าเกษตร

งานของดีศรีหริภุญชัย

เป็นงานแสดงและจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และเกษตรแปรรูปนานาชนิดซึ่งเกษตรกรและกลุ่มแม่บ้านของจังหวัดลำพูนเป็นผู้ผลิต ในงานมีขบวนแห่ของกลุ่มแม่บ้าน การแสดงทางศิลปวัฒนธรรม การประกวดเรือนชนบท การออกร้านขายสินค้าหัตถกรรมในราคาย่อมเยา

กำเหนิดเมืองหริภุญไชย

ในตำนานพงศาวดารกล่าวว่าเมืองนี้ถูกสร้างโดยพระฤษี 4 องค์แล้วได้อัญเชิญพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นเจ้าหญิงเชื้อสายชนเผ่าจาม เป็นพระธิดาของพระเจ้าจักรวรรดิราช กษัตริย์มอญ เมืองละโว้หรือลพบุรีในขณะนั้นมาเป็นกษัตริย์ครองเมืองหริภุญไชย(ลำพูน) เมืองระโว้นับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายาน พระนางจามเทวี ได้นำพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ พระไตรปิฏก รวมทั้งศิลป วิทยาการต่างๆ และผู้คนอีกจำนวนมาก มายังเมืองหริภุญไชย พระนางจามเทวีขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงหริภุญไชยใน พศ 1205 ได้ทรงสร้างวัดทั้งสี่มุมเมือง ซึ่งเป็นแห่งกำเหนิดกรุพระเครื่องที่มีชื่อที่สุดในลำพูนด้วย

4 วัน 3 คืน ท่องใจไปตามฝัน สมบุกสมบัน บนเส้นทางสายลำปาง - ลำพูน

โดย... ชัยพร อมรมุณีพงศ์
เมื่อกลางเดือนธันวาคมปีที่แล้วผมกับเพื่อนๆทั้ง 6 คน ได้ไปเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน จังหวัดลำปาง ซึ่งพรั่งพร้อมไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวก เหมาะกับนักเดินทางมือใหม่อย่างพวกเรา ไม่ว่าจะเป็นน้ำตกแจ้ซ้อนอันเลืองชื่อ ที่เปิดรับความท้าทายแก่นักท่องเที่ยวให้ไต่บันไดครบทั้ง 6 ชั้น เพื่อชมบรรยากาศรอบน้ำตกให้สุขอุรา นอกจากนั้นเส้นทางไปน้ำตกแม่เปียกที่พวกเราเดินทางไปในวันที่ 2 จะผ่านความร่มรื่นย์ของป่าไม้ที่สมบูรณ์ยากจะหาได้ง่ายในป่าเมืองไทย ปัจจุบัน ตลอดการเดินทางยังถูกขับกล่อมด้วยเสียงน้ำจากลำห้วยใสๆที่ไหลมาจากต้นน้ำตก ประกอบกับเสียงการต้อนรับอย่างไมตรีมาเป็นระยะๆจากนกนานาชนิด ก่อนถึงน้ำตกแม่เปียกจะพบน้ำตกวังฮุ้น น้ำตกเล็กกลางป่าใหญ่ ซึ่งสร้างความสนุกสนานให้กับพวกเราอย่างถึงที่สุด เพราะนอกจากจะได้คลายความร้อนจากการเดินป่ากว่า 3 กิโลเมตรแล้ว การได้เล่นน้ำในแอ่งน้ำส่วนตัวพร้อมด้วยทรายนุ่มๆแล้วละก็ ความเหน็ดเหนื่อยทั้งหลายก็หายเป็นปลิดทิ้งเลยละครับ
สุด เส้นทางก็จะพบกับน้ำตกแม่เปียกที่ต้องแลกด้วยหยาดเหงื่อท่วมตัว แต่เมื่อได้ยลโฉมน้ำตกที่ลาดเทมาตามหน้าผาสูง เพียงแค่นี้ก็คุ้มค่าสำหรับการดั้งด้นเดินทางมาแล้วครับ ตกค่ำพวกเราก็ใช้บริการนวดแผนไทย ช่วยคลายความเมื่อยล้าจากการเดินป่า ขอการันตีว่า “ป้าเค้านวดดีมากครับ” เนื่องด้วยการนวดที่นุ่มนวล จนทำให้พวกเราเคลิ้มหลับไปเลย หลังจากนั้นก็ตบท้ายด้วยการลงแช่น้ำพุร้อน ซึ่งน้ำช่างอุ่นสบายเข้ากับสภาพอากาศที่หนาวเย็นซะจริงๆ ช่วยให้คืนนั้นพวกเรานอนหลับสบายพร้อมที่จะตื่นแต่เช้าตรู่มาร่วมกันเก็บภาพ ความประทับใจรอบบ่อน้ำพุร้อนที่มีไอหมอกประกอบฉากหลังเสมือนอยู่ท่ามกลาง สรวงสวรรค์อันน่ารื่นรมย์เป็นที่สุด
จาก นั้นพวกเราก็เปลี่ยนบรรยากาศการท่องเที่ยวด้วยการนั่งรถไฟไปผจญภัยที่อุทยาน แห่งชาติดอยขุนตาล เขตติดต่อจังหวัดลำปาง-ลำพูน ก่อนถึงปลายทาง ได้ผ่านอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทยและจอดเทียบชานชาลาที่อยู่ท่าม กลางขุนเขาและป่าดง ฉุกให้คิดถึงการเดินทางไปฮอกวอตของหนังเรื่องแฮร์รี่พอตเตอร์ขึ้นมาทันที จากนั้นพวกเราก็แบกเป้ขึ้นเขาไปที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ด้วยระยะทางที่ไม่ไกลเพียง 2 กิโลเมตร แต่ด้วยความสูงชันจึงได้สร้างความเหน็ดเหนื่อยถึงกับต้องหยุดพักเกือบทุก นาที
เมื่อ ถึงจุดหมายก็ต้องนั่งรถกระบะไปอีก 2 กิโลเมตร เพื่อที่จะไปพักแรมกันที่บ้านบังกะโลรถไฟบนยอด ย.1 ตกเย็นก็เดินขึ้นไปบนยอด ย.2 ซึ่งห่างจากที่พัก 800 เมตร ชมพระอาทิตย์ตกที่ลุ้นระทึกเป็นยิ่งนัก ก่อนนอนพวกเราก็เทกายลงบนระเบียงหลังบ้าน ชมจันทร์และดวงดาวอันสุกสกาวเต็มท้องฟ้า เสมือนมีคนนับล้านคอยส่งสายตาหวานๆให้ ช่วยสร้างรอยยิ้มให้เสมอยามที่จ้องมอง เช้าวันสุดท้ายพวกเราปิดท้ายทริปด้วยการตื่นแต่เช้ามาชมทะเลหมอกที่ปกคลุม ทั่วท้องทุ่งภูเขาสุดลูกหูลูกตา พร้อมด้วยแสงของเช้าวันใหม่บนทิวทัศน์ที่มองเห็นได้ทั้งจังหวัดลำปางและ ลำพูน และก็ช่วยกันทำอาหารอย่างสุดฝีมือที่รสชาติอาจจะดูแปลกๆ นิดหน่อยแต่ก็สร้างความประทับใจเป็นอย่างมาก ก่อนจะจากลาพวกเราก็เก็บภาพความประทับใจรอบอุทยาน พร้อมกับขอบคุณทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นสัตว์ป่า ท้องนภา สายลม สายน้ำ สายหมอก และองค์ประกอบอื่นๆ ที่ธรรมชาติรังสรรค์ให้เราได้สัมผัสความงดงามและความสุขล้นเปี่ยมเช่นนี้ และถูกบันทึกเข้าไปในจิตใจอย่างไม่รู้ตัวกลายเป็นความทรงจำสำคัญที่ยากจะลืม เลือนจริงๆ

http://thai.tourismthailand.org/interesting-article/content-595-1.html

Lamphun National Museum Description

At the rear of the large Wat Phra That Haripunchai complex there is a little temple museum with some interesting figures of Buddha from various style periods, especially those in the Chiang Mai style with distinct Dvaravati features. Other exhibits include several old engraved sema stones, bookcases, votive tablets, manuscripts, and some of the gold and silver vessels which were used for the ceremonial washing of the chedi. A number of other wiharns and monastery buildings, including an open pavilion with a fourfold footprint of Buddha, complete the complex.

In passing it is worth having a look at the typical northern Thai lacquer work on the shutters of an otherwise plain building.

Wat Phra That Haripunchai Description

Wat Phra That Haripunchai, a place of pilgrimage for the whole of Thailand, stands on the site of the former royal palace which lay outside the city wall, part of which is still visible. It is best viewed from the river end, as was originally intended. Here the visitor is greeted by two great lions, an unmistakable sign of the Burmese influence on the temple's architecture.

On the left, before reaching the actual temple complex, there is a smaller, plainer wiharn containing a reclining Buddha, 15 m (49 ft) long.

The history of the wat dates back to 876 when the Mon king Atityaraj built a mondhop to hold a relic of the Buddha (a hair or a skull fragment). The chedi which took its place was modified and made taller over the
centuries but its present height (58 m (190 ft)) and appearance are roughly as they would have been in the 16th c. and fairly typical of the chedis of that period. The richly articulated base and upper part are covered in ornamental gilded copper plates with a nine-tier gold canopy on the tip of the spire. Once a year a ceremonial procession takes place when the chedi is washed down with holy water.

The Burmese-style tower east of the chedi holds the 13th c. temple gong, one of the largest in the world, with a diameter of about 2 m (7 ft). Almost all the present temple buildings are 20th c., including the wiharn, built in 1925 but in the ancient style. Beautiful partly gilded carving embellishes the façades, doors and windows. Interesting features in the interior include a statue of Buddha in the Chiang Saen style, the lovely wooden ceiling and the richly decorated preaching stand. The wall paintings here and in the lobby have recently been restored.

The charming wooden library pavilion on the left side of the wiharn is also worth attention. Erected in the 19th c. on the site of an older building it has a top story decorated with carving and inlay and a stepped roof. The old bookcases contain valuable palm-leaf manuscripts.

Past the large wiharn on the right there is an 8th c. brick chedi which once held 60 Buddha figures, 15 on each side. Only a few remain but on the square base, at the front of the chedi, there are three Buddhas in Chiang Saen style, one of which used to be shaded by a naga (the cobra's neck has been broken off). The inscriptions on these three statues are in the north Thai dialect which was banned from schools under King Rama V.

Lamphun

Legend handed down for more than 1,400 years refer to this ancient town as Hariphunchai. Its first ruler was Queen Chamthewi who was of Mon extraction. In late 12th century, King Mengrai overran the town and subsequently integrated it into the Lanna Kingdom.

Today, Lamphun still retain its enchanting ambience of a small but old community. It is some 670 kilometres from Bangkok and only 26 kilometres from Chiang Mai. Located on the bank of the Kuang River, its attractions include ancient sites and relics as well as forests and mountains and delightful lakes. Lamphun is the most famous producer of longans.

จังหวัดลำพูน

จังหวัดลำพูน " พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวี ศรีหริภุญชัย "
ประวัติ :
เมืองลำพูน หรือ หริภุญชัยนั้น เป็นเมืองที่พระวาสุเทวฤาษี จากสำนักดอยสุเทพเมืองเชียงใหม่ และพระสุกกทันตฤาษี จากเมืองละโว้ เป็นผู้สร้างขึ้นครับ โดยทั้งสองเห็นพ้องต้องกันว่าควรสร้างเมืองตามแบบอย่างพระอนุสัษฏฤาษี ที่สร้างเมืองศรีสัชนาลัยโดยวางรูปสันฐานเมืองเป็นรูปเกล็ดหอยซึ่งทำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง เมื่อพระอนุสัษฏฤาษีทราบเรื่องจึงนำเกล็ดหอยจากมหาสมุทรมาให้พระฤาษีทั้งสอง จากนั้นพระฤาษีทั้งสองก็ใช้ไม้เท้าขีดพื้นดินวงไปตามรูปเกล็ดหอย ก็เกิดเป็นกำแพงมูลดินและคูเมืองป้อมปราการขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์ เหตุที่มีดินพูนขึ้นมานี้เองจึงได้ชื่อว่า "ลำพูน" และเมื่อพระฤาษี ทั้งสองสร้างเมืองเสร็จแล้วก็ให้อำมาตย์ไปทูลเชิญพระนางจามเทวี ราชธิดาพระเจ้ากรุงละโว้ ขึ้นมาครองเมือง ซึ่งขณะที่พระนางเดินทางมานั้นพระนางกำลังทรงพระครรภ์อยู่ ครั้นถึงเมืองลำพูนได้ไม่นาน ก็ทรงมีพระประสูติกาลพระกุมารฝาแฝด องค์พี่ทรงพระนามว่า "มหันตยศกุมาร" ส่วนองค์น้องทรง พระนามว่า "อนันตยศกุมาร"
จังหวัดลำพูนแบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ และ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองลำพูน, อำเภอป่าซาง, อำเภอบ้านโฮ่ง, อำเภอแม่ทา, อำเภอลี้, อำเภอทุ่งหัวช้าง และกิ่งอำเภอบ้านธิ
อาณาเขต :
ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดเชียงใหม่
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดลำปาง และตาก
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดลำปาง
จังหวัดลำพูน เป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดในภาคเหนือ มีเนื้อที่ 4,407 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็น ที่ราบ อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,800 ฟุต มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 4 สาย คือ แม่น้ำปิง แม่น้ำกวง แม่น้ำทา และ แม่น้ำลี้